[TRANS]【AAAぴあ】MEMBER INTERVIEW 01 Nishijima Takahiro


     สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับโปรเจ็กต์แปลบทสัมภาษณ์ เนื่องจากช่วงนี้เห็นมีกระทู้ในพันทิพย์ถามถึง AAA มากขึ้น พอดีกับที่นิตยสาร ぴあ ทำฉบับพิเศษของ AAA ในชื่อว่า “AAAぴあ (AAA Pia)” ออกมาในโอกาสครบรอบ 10 ปีของวงพร้อมกับบทสัมภาษณ์สมาชิกแบบเดี่ยวๆด้วย เราเลยตัดสินใจเปิดโปรเจ็กต์แปลบทสัมภาษณ์ของทั้ง 7 คน เพื่อถือโอกาสแนะนำไปในตัวด้วยเลยค่ะ

     สำหรับบทสัมภาษณ์นี้เราแปลจากนิตยสารเองเช่นเคย และจะทยอยแปลไปทีละนิดจนกว่าจะครบทุกคนเรียงตามลำดับในนิตยสารคือ นิชชี่ > มิซาโกะ > นาโอยะ > ฮิดากะ > ชินจิโร่ > ชูตะ > จิอากิ นะคะ เนื่องจากตั้งใจแปลเองคนเดียวอยู่แล้วเพราะฉะนั้นจะใช้เวลาสักนิดนึง ถ้ายังไม่ถึงคิวเมนตัวเองกรุณาอดใจรอสักหน่อยนะคะ จะพยายามแปลให้ครบทุกคนแน่ๆค่ะ

     ภาพที่นำมาประกอบในบล็อกเราหยิบมาจากเว็บ http://realsound.jp ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่ลงในนิตยสารค่ะ

     เช่นเคย เราอาจไม่ได้แปลเป๊ะมาก พยายามแปลตามความเข้าใจของตัวเองและปรับภาษาให้อ่านง่ายที่สุด ถ้ามีข้อผิดพลาดอย่างไรต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ และ… ขอความกรุณาอย่านำบทแปลไปลงที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนะคะ


10 ปีจนถึงตอนนี้ และอีก 10 ปีหลังจากนี้
 
AAA ทั้ง 7 คนได้ผ่านปีที่ 10 และมุ่งสู่เวทีต่อไปและก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น ซึ่งในจุดเปลี่ยนนี้เราจะมองย้อนถึงงานในอดีตที่ผ่านมาอีกครั้ง “10 ปีจนถึงตอนนี้ และอีก 10 ปีหลังจากนี้” จะเป็นการเล่าแบบเปิดเผยอย่างหมดเปลือกของแต่ละคน ทั้งการพบกันกับดนตรี ออดิชั่น การฝึกซ้อมอันหนักหน่วง เดบิวต์ และจุดเปลี่ยนมากมายที่เข้ามาเยี่ยมเยือนหลังจากนั้นกับการมองไปยังอนาคต รวมถึงความทุกข์ทรมานหรือความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในฐานะเพอร์ฟอร์แมนซ์กรุ๊ปหนึ่งเดียว ซึ่งอยากให้ได้ฟังกันถึงความรู้สึกของสมาชิก AAA ที่สามารถเล่าให้ฟังได้ในเวลานี้


【AAAぴあ】MEMBER INTERVIEW 01
Nishijima Takahiro

 
よかったことも悪かったことも、すべてがいい経験になった
(ทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี ทั้งหมดนั้นคือประสบการณ์ที่ดี)
  **ห้ามนำบทแปลไปโพสต์ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต**


---ก่อนอื่นอยากให้นิชิจิม่าซังนึกย้อนกลับไปถึงเรื่องที่ทำให้เริ่มตื่นตัวกับดนตรีหรือการเต้น อย่างเช่นว่า มีศิลปินที่ได้รับอิทธิพลหรือเปล่า?
  ผมไม่มีศิลปินที่หลงใหลถึงขั้นเรียกได้ว่า “ได้รับอิทธิพล” ครับ แต่แน่นอนว่ามีศิลปินที่ผมนับถือ มีเพลงที่ชอบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผมเริ่มต้นด้านดนตรีก็คือเพลง “Natsu Iro” ของ Yuzu ที่เล่นดนตรีพร้อมกับร้องเพลงในสวนโอโดริที่ซับโปโรครับ และที่นั่น ผมได้พบกับเบรคแดนซ์บนถนนด้วย ผมจึงเริ่มฝึกเองครับ
 
---เก็บข้อมูลด้วยตนเอง
  ใช่แล้วครับ เพราะอินเตอร์เน็ตยังไม่พัฒนาเหมือนในตอนนี้ ก็เลยพึ่งข้อมูลจากนิตยสาร แล้วก็หาวีดีโอในร้านขายแผ่นเสียง ตอนนั้น DVD ก็ไม่มี เพราะงั้นเลยเป็นวีดีโอเทปครับ (หัวเราะ)
 
---จากนั้นก็เรียนรู้ทักษะมากมาย และมีผลงานในโวคอลกรุ๊ปที่บ้านเกิดก่อนหน้านี้ด้วย สาเหตุที่มาเข้ารับการออดิชั่นของ avex คืออะไร?
  ตอนที่ผมคิดว่า ไม่ใช่แค่ฮอกไกโด แต่อยากแข่งทั่วประเทศ ผมก็เจอแผนออดิชั่นที่ HIRO(EXILE)เป็นคนโปรดิวซ์ในนิตยสาร “Gekkan De☆View” โดยบังเอิญน่ะครับ กำหนดส่งวันสุดท้ายคือ 30 กันยายน วันเกิดผมครับ นั่นน่าจะเป็นสาเหตุ พอผมส่งใบสมัครไปก็ผ่านการออดิชั่นและได้เป็นนักเรียนทุน จากนั้นก็เข้ามาอยู่ที่หอพักในโตเกียว จมอยู่กับวันเวลาที่ต้องฝึกซ้อม จากนั้นประมาณ 1-2 ปี ก็มีแผน AAA ออกมาครับ
 
---ความรู้สึกในตอนนั้นเป็นอย่างไร
  ตอนแรกเริ่มไม่ใช่สัญญาตัวจริงแต่เป็นสัญญาเทรน 2 ปี เลยมีความรู้สึกว่า อย่างไรเสียผมก็ “จะได้เดบิวต์เพราะวงนี้นี่เอง” ครับ
 
---พอเริ่มกิจกรรมจริงๆแล้ว….?
  เรียกว่าตอนแรกจะแสดงตามภารกิจของแต่ละคน ทำสิ่งที่ทำได้…มั้งครับ แบบว่า จะแสดงออกมาอย่างไรในขอบเขตที่ถูกมอบให้ มากกว่าที่จะค้นพบอะไรสักอย่างด้วยตัวเอง ประมาณนั้นน่ะครับ
 
---เป็นการวางคอนเซ็ปต์ที่แน่นมาก แต่ในฐานะของนิชิจิม่าซังแล้วมีความขัดแย้งบ้างไหม?
  ถ้าจากมุมมองหนึ่งก็เป็นเรื่องที่มีความสุขนะครับ แต่ถ้าคิดในแง่ของศิลปินแล้วการที่ไม่ต้องคิดเซ็ตลิสต์หรือท่าเต้นด้วยตัวเองก็ได้นี่คือส่วนที่ยากครับ
 
---อย่างนี้นี่เอง พอไม่ได้ทำแม้กระทั่งการคิดถึงการแสดงออกของตัวเอง ก็เลยคิดมาตั้งแต่แรกๆเลยสินะ
  ยิ่งไปกว่านั้น เพราะชื่อวงคือ Attack All Around = ท้าทายกับทุกสิ่ง ก็เลยคิดตลอดว่าต้องทำภารกิจนั้นให้สำเร็จลุล่วง สิ่งที่ควรทำก็ทำให้เรียบร้อย และรู้สึกกดดันว่ายิ่งต้องบวกความท้าทายเข้าไปอีก
 
---วิธีการแบกรับความรับผิดชอบอย่างนั้นมีความเข้มงวดมาก แต่ก็คิดได้ว่ามีความล้ำเลิศในการทำกิจกรรมในฐานะวงด้วยเช่นกัน
  นั่นสินะครับ พอทำอย่างนั้นแล้วก็ต้องต่อสู้ฟันฝ่าแบบยากลำบากมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็จริง แต่ทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่ดีทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ทุกอย่างนั้นก็เป็นประสบการณ์ที่ดีไม่ใช่หรือครับ ส่วนที่ไม่ดีก็แก้ไขในบางที…อ๊ะ ถึงผ่านมา 10 ปีแล้วก็ยังมีส่วนที่เปลี่ยนไม่ได้อยู่เยอะเลยครับ (หัวเราะ)
 
---ในฐานะ AAA หรือในฐานะของนิชิจิม่าซังเอง มีจุดเปลี่ยนที่ตรงไหนในช่วง 10 ปีนี้บ้าง?
  พูดถึงจุดเปลี่ยน ตอนที่ลำบากที่สุดคือช่วงบูโดคัง 2 วันติดตอนปีที่ 3 (2008) พอดีครับ ผมต้องเล่นละคร ละครเวที ทัวร์ไปพร้อมๆกัน จริงๆแล้วคืออยู่ในสภาพที่เรียกหมอมาที่ห้องแต่งตัวแล้วฉีดยาทุกวันเลยครับ
 
---คือทำงานจนถึงจุดที่แทบจะไม่ไหวเลยสินะ
  ตอนนั้นไม่มีเวลาว่าง และไม่รู้จะพยายามกับอะไรดีจริงๆน่ะครับ โดยส่วนตัวแล้ว ไม่รู้ว่าสังคมต้องการอะไรจากตัวเรากัน เป็นดนตรีหรือละครกันแน่ ในฐานะของวงเองก็เป็นช่วงที่ลำบากเช่นกัน อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าแค่ตั้งสมาธิแล้วจัดการกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าไปเงียบๆก็พอล่ะมั้งครับ
 
---เพราะผ่านช่วงเวลาแบบนั้นมาได้จึงได้มีตอนนี้สินะ มีได้พูดคุยร่วมกันกับพวกสมาชิกบ้างหรือเปล่า?
  นั่นสินะครับ ตอนนี้น้อยก็จริง แต่ช่วงแรกก็คุยกันหลายครั้งเลยล่ะครับ เพราะรวมเอาสมาชิกที่มีความเป็นตัวของตัวเองขนาดนี้มาไว้ด้วยกัน เรื่องที่คุยก็เลยไม่สอดคล้องกันเลย (หัวเราะ) ตอนนี้พอมาคิดดู ต่างฝ่ายต่างก็ประณีประนอมกันในหลายๆครั้ง ซึ่งในนั้นก็มีทั้งเรื่องที่จริงจัง มีสมาชิกที่คอยเข้ามาหาผมในช่วงที่ยุ่งๆ แต่ผมเองกลับไม่รู้สึกถึงจุดนั้น… ก็เลยขัดแย้งกันไปน่ะครับ ขัดแย้งกันมากมาย แต่ละคนก็ได้รับรู้หลายๆสิ่งจากในนั้น แล้วก็สร้างความสัมพันธ์กันมาในช่วง 10 ปี



 
---ในระหว่างนั้น ด้านกิจกรรมส่วนตัวของนิชิจิม่าซัง ก็ถูกประเมินไว้สูงในฐานะนักแสดงเช่นกัน คิดไว้ว่าจะรักษาสมดุลกับกิจกรรมของ AAA อย่างไร
  ก่อนอื่น จะท้าทายกับการแสดง ถึงจะแสดงว่า(ผมนั้น) “Attack All Around” มากแค่ไหน ก็เป็นแค่การท้าทาย แล้วผมไม่ชอบที่จะให้เห็นเหมือนกับแหย่ขาเข้าไปแค่ข้างเดียวน่ะครับ อยากจะถ่ายทอดว่าสามารถเข้าคู่กับทั้งนักแสดงมืออาชีพและเหล่าสตาฟฟ์ได้อย่างจริงจัง ดังนั้น การที่ผมได้รางวัลนักแสดงหน้าใหม่ 2 รางวัล (83th KINEMA Junhou Best Ten / 84th Mainichi Eiga Contest) จาก “Ai no Mukidashi” (2009 / กำกับโดย Shion Sono) จึงดีใจจริงๆครับ ถึงจะเป็นเรื่องปกติเมื่อได้รับรางวัลก็ตาม แต่ก็ดีใจที่ได้รับการยอมรับในเรื่องที่ตั้งใจ และคิดว่าตรงนี้จะมีผลไปถึง AAA ด้วยหรือเปล่านะ
 
---ต้องมีคนที่รู้จักและสนใจ AAA จากแฟนหนังที่ได้ดู “Ai no Mukidashi” แน่นอน นอกจากนี้เห็นว่ามีคนที่พอลองฟังแล้วก็ประเมินค่าใหม่จาก Sound Production ที่ดีเลิศด้วย
  เพราะ “Ai no Mukidashi” ค่อนข้างจะเป็นหนังนอกกระแส ก็เลยกังวลมากว่าคนที่ชอบผลงานนั้นจะยอมฟัง AAA ที่อยู่ท่ามกลางกระแสหลักหรือเปล่าน่ะครับ จริงๆแล้ว ส่วนตัวผมก็มีคนเสนองานละครและภาพยนตร์เข้ามามากขึ้นก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าจำนวนครั้งที่ได้ไปออกรายการเพลงทางโทรทัศน์จะเพิ่มขึ้นแบบละคร ตอนนั้นผมคิดว่า “ทำไมล่ะ!” จากประเด็นที่ว่า “มีสมาชิกที่ได้รางวัลจากภาพยนตร์อยู่ในวง” การจะให้มาชอบนั้นก็มีช่องว่างอยู่ พอมาคิดดูตอนนี้แล้วก็เป็นเรื่องธรรมดาเนอะครับ เรียกว่าถูกจับตามองจากภาพยนตร์ แล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนรสนิยมของเพลงให้เข้ากับการมองโลกได้ แน่นอนว่ากิจกรรมในฐานะนักแสดงและกิจกรรมในฐานะ AAA นั้นส่งผลต่อกันยากครับ
 
---ในความหมายนั้น การได้แสดงในเรื่อง “Itsuka kono Koi wo Omoidashite Kitto Naiteshimau” (Fuji TV) ก็อาจเป็นจุดเปลี่ยนใหม่ที่สุดใน AAA เลยสินะ ยิ่งเพราะอยู่กลางกระแสหลักอย่าง “Getsuku” ด้วย
  นั่นสิครับ ก็เหมือนกับที่เล่ามาจนถึงตอนนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 10 ปี ผมได้รับการทาบทามจากคุณมุราเสะ (เคน) โปรดิวเซอร์ที่คอยทักทายมาจนถึงตอนนี้ก็รู้สึกขอบคุณครับ ส่วนตัวของผมเอง รวมถึงบทบาทที่ได้รับ ถือเป็นเรื่องใหม่และมีความรู้สึกที่ว่าเป็น “ครั้งแรก” ที่รุนแรงเสียยิ่งกว่าละครเมื่อ 2 ปีก่อน (Taiyou no Wana ของ NHK) อีกครับ
 
---ไหนๆแล้วก็ไหนๆแล้ว ช่วยบอกหน่อยว่ามอง “Itsu Koi” ในฐานะผลงานเช่นใด
  คำว่า “เรื่องราวความรักของแต่ละคน” คงจะเก็บได้ไม่หมด เป็นละครที่รวมหลายแนวเข้าไว้ด้วยกันครับ คนหนุ่มสาวที่ดูก็จะมีความรู้สึกร่วมในด้านความรัก ถ้าเป็นคนที่มีอายุหน่อยก็จะมองตัวละครแล้วคิดได้ว่า “คิดถึงจังเลยนะ” เป็นผลงานที่จะสนุกได้ทั้งคนที่ต้องการความสมจริงแบบถึงที่สุด คนที่ต้องการละครรักซึ่งมีความเป็นดราม่า เป็นละครที่ให้ความรู้สึกใหม่จริงๆไม่ว่าจะแสดงหรือจะชมละครที่ฉายก็ตามครับ
 
---ได้รับการประเมินสูงในฐานะของนักแสดง รวมถึงจาก “Itsu Koi” ด้วย แล้วท่าทีที่มีต่อ AAA ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยใช่ไหม อย่างเช่น เข้าใจถึงลักษณะของ AAA ได้ดีขึ้นด้วยการมองจากภายนอก
  นั่นสินะครับ อย่างตอนที่แสดงละครเวทีของคุณนินากาวะ ยูคิโอะ (Shitatani Mannenshuu Monogatari 2012) ก็เต็มไปด้วยความร้อนแรงของสถานที่ทำงานน่ะครับ สถานที่แสดงมันสว่างสดใสสุดๆ ทุกคนสนุกกันสุดๆ รู้สึกว่า “คนพวกนี้กำลังทำงานด้วยความรู้สึกเหมือนไม่ได้ทำงานนี่เอง” พอได้ทำเช่นนั้นและมีประสบการณ์จากสถานที่แสดง ก็เลยคิดบ่อยอยู่เหมือนกันว่า “ทำอย่างไร AAA จึงจะมีแบบนี้ได้บ้างนะ” มีช่วงนึงที่ผมเอาแต่คิดแบบนี้ครับ
 
---เพราะสมาชิกแต่ละคนก็พยายามที่จะสร้างสเน่ห์ให้กับ AAA ด้วยวิธีของแต่ละคนสินะ
  คิดว่าแบบนั้นครับ ตอนที่คิดถึง “เพลงของ AAA” ก็มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ประทับใจ ตัวผมเอง พอมีเรื่องงานแสดงเยอะขึ้นก็เคยคิดว่า “เรื่องเพลงไม่ได้อย่างนั้นหรือ…” ในเวลานั้น เพอร์ฟอร์แมนซ์ในรายการเพลงรายการหนึ่งก็ได้รับการประเมินจากผู้ฟังอย่างสุดๆเลยครับ
 
---แล้วเพลงนั้นคือ?
  “Koi Oto to Amazora” (2013) น่ะครับ พอดูข้อความที่เขียนไว้ในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับรายการนั้น ขนาดคนที่ปกติไม่ค่อยฟัง AAA ก็ยังสนุกไปด้วย พอมีการตอบสนองกลับมาโดยตรงแบบนั้น แน่นอนว่าความรู้สึกที่ว่า “ดนตรีจะต้องส่งไปถึง” ก็รุนแรงขึ้นมาน่ะครับ โซโล่เองก็เช่นเดียวกัน หลังจากนี้ก็คิดตลอดเลยว่าควรจะดึงดูดผู้ฟังในฐานะ AAA อย่างไรดี
 
---พูดเรื่องหลังจากนี้ออกมาแล้ว จะในฐานะ AAA หรือในฐานะส่วนตัวก็ตาม จากนี้คิดไว้ว่าอยากจะทำกิจกรรมอย่างไรต่อไป
  ที่คิดไว้ตอนนี้คืออยากจะทำงานออกมาให้ปราณีตกว่านี้ครับ แน่นอนว่าจนถึงตอนนี้เองก็ทำงานออกมาอย่างปราณีตอยู่แล้ว แต่ถ้าใช้เวลามากกว่าเดิมในการทำผลงานให้สมบูรณ์ก็น่าจะดีกว่าหรือเปล่าน่ะครับ การส่งมอบสิ่งดีๆภายในเวลาที่ขีดเส้นไว้อย่างชัดเจนคือสิ่งสำคัญซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในการทำงาน แต่ว่าศิลปะหรือความบันเทิงนั้นผมว่าจำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสรรค์ครับ อย่างเช่น หากกำหนดไว้ว่าทำงานได้สัก 70-80% ก็จะส่งมอบแล้วล่ะก็ อยากจะบอกว่า “ถึงจะใช้เวลาก็ตาม แต่ 100% ครับ!”
 
---ที่ว่า 70-80% นี่ ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพ แต่เป็นเรื่องของความพอใจของศิลปินสินะ
  ใช่ครับ ผมอยากทำงานที่ตัวเองพอใจ ประมาณนั้นล่ะครับ ถ้าพูดถึงโซโล่ คอนเซ็ปต์อัลบั้มแรกที่ออกเดือนมีนาคม (HOCUS POCUS) ไปจนถึงไลฟ์เดี่ยวที่จะมีหลังจากนี้ เป็นของที่เริ่มมาตั้งแต่ตอนอายุ 24 น่ะครับ ในตอนนั้นยังไม่ได้ทำออกมาให้เป็นจริงด้วยสภาพการณ์ แต่ค่อยๆเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
 
---มีสิ่งที่อยากนำเสนออยู่ตลอด แสดงว่าคิดมาเรื่อยๆเลยสินะ
  แม้ในเวลาพักผมก็คิดเรื่องงานไม่สิ้นสุดน่ะครับ (หัวเราะ) มีเผลอสายบ้าง จะเรียกว่า “รักงาน” หรือ “เอาจริงเอาจัง” ก็ไม่ใช่แบบนั้น… คือจะอย่างไรก็ “เผลอคิด” น่ะครับ
 
---หากเป็นคนคล่องแคล่วก็คงจะผ่อนคลายได้ง่าย แต่เหมือนว่านิชิจิม่าซังจะไม่ใช่แบบนั้นใช่ไหม
  ผมอยากได้ภรรยาที่จัดตารางเวลาเก่ง พาผมไปเที่ยว ทำให้ผมผ่อนคลายได้ครับ (หัวเราะ) ให้เป็นเหมือนกับเรื่องเกม ถ้าจะเป็นตัวเอก พารามิเตอร์ที่เรียกว่า “ความคล่องแคล่ว” ที่อยู่ในตัวเองทั้งหมดนั้นเหมือนกับว่าจะใช้ไปกับการแสดงนะครับ เวลาส่วนตัวรู้สึกว่าผมเป็นเหมือนนักแสดงที่ไม่ได้เรื่องสุดๆค่อนข้างมากเลยล่ะครับ (หัวเราะ)
 
---คือไม่ว่าอย่างไรก็อยากทำให้สิ่งที่คิดมาเป็นรูปร่างอย่างรอบคอบ 
  ใช่แล้วครับ เพียงแต่ว่านี่เป็นแค่เพียงความคิดเห็นของผมนะครับ ถ้าอยู่กัน 7 คน วิธีคิดของสมาชิกแต่ละคนต่างกัน ถ้าเป็นคำว่า “ประสิทธิภาพ” นั้นคงไม่ดีก็จริง  แต่อาจมีคนที่คิดว่าควรส่งมอบสิ่งใหม่ในเวลาที่เหมาะสม ในฐานะ AAA  จริงๆแล้วจะทำอย่างไรนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ  แต่ผมว่า ถ้าทำอย่างที่ว่ามาได้ก็คงดีครับ

Post a Comment

0 Comments